ความเคลื่อนไหวงานการกุศลปี 2563
ในปีพ.ศ. 2540 คุณหมอมาร์คได้เริ่มกิจกรรมงานอาสาสมัครในกรุงเทพที่ มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ (ข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ ?เกี่ยวกับคุณหมอมาร์ค?) นับจากปีพ.ศ.2542 เป็นต้นมา คุณหมอมาร์คได้เริ่มการทำงานอาสาสมัครที่บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนในเขต บางเขน กรุงเทพฯโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการของ มูลนิธิคริสเตียนเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

คุณหมอมาร์คในปีพ.ศ.2542 ที่บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน บางเขน กรุงเทพ

คุณหมอมาร์คและครอบครัว, มกราคม พ.ศ.2563 ,ที่บ้านเด็กตาบอดพิการซ้ำซ้อน บางเขน กรุงเทพฯ
ที่มูลนิธิแห่งนี้คุณหมอมาร์คได้ให้การรักษาแก่เด็กๆและเจ้าหน้าที่โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ภาพด้านบนนี้ถูกถ่ายเมื่อเดือกมกราคม พ.ศ.2563 กับคุณหนิง ภรรยาของเขา (สวมเสื้อสีเหลือง) และลูกสาวของเขา ณิกกิ อย่างที่เห็นลูกสาวของคุณหมอเติบโตขึ้นมากนับจากที่เราได้ถ่ายภาพครอบครัวกันในปี พ.ศ. 2553 ที่แสดงไว้ในเว็บไซต์ของเรา
กรณีของน้องเป๊ปซี่ นอกจากตาบอดแล้ว น้องเป๊ปซี่ยังมีอาการเดินลำบากเนื่องจากข้อบกพร่องโดยกำเนิด น้องมีอาการเท้าแบนแบบรุนแรง สังเกตจากตำแหน่งของศรีษะเธอโน้มไปด้านหน้าเมื่อเทียบกับส่วนของร่างกาย ซึ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้อคอเคล็ดตลอดเวลา
คุณหมอมาร์คทำการรักษาที่บริเวณเท้าของน้องเป๊ปซี่เพื่อช่วยพัฒนาการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ณิกกิเองก็มีส่วนช่วยคุณหมอมาร์ครักษาเด็กๆเหล่านี้ ดังเช่นในรูป ณิกกิกำลังจดบันทึกการรักษาเพื่อให้คุณหมอมาร์คสามารถติดตามความคืบหน้าของเด็กๆได้ คุณหมอรู้สึกว่านี่คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยปลูกฝังประสบการ์ณที่ดีให้ลูกสาวได้รู้จักช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสมากกว่าเธอ เธอจะได้รับรู้ว่าเธอโชคดีเพียงใดที่เกิดมาครบ 32 ประการโดยที่ไม่ต้องพบเจอกับอาการที่เด็กๆเหล่านี้ต้องเผชิญมาตลอดชีวิตของพวกเขา
เด็กหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดท่าทางร่างกาย พวกเขาไม่สามารถยืนตรงได้ อย่างในรูปข้างล่าง คุณหมอมาร์คได้ช่วยรักษาเพื่อให้เด็กๆสามารถยืนยืดได้ตรงมากขึ้น
เด็กบางคนก็มีปัญหาเกี่ยวกับแขนและมือ (ดังรูปภาพ)
เด็กหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อคอตึงแข็งเรื้อรัง เนื่องจากปัญหาในการพยุงศรีษะลำบาก ให้อยู่ในตำแหน่งตามธรรมชาติ เนื่องจากการมองไม่เห็น พวกเขาจึงมักจะยื่นศรีษะไปด้านหน้า และเกิดเป็นปัญหาให้กล้ามเนื้อคอต้องทำงานหนักขึ้น การคลายกล้ามเนื้อคอจะช่วยบรรเทาอาการนี้ให้กับเด็กๆได้เป็นอย่างมาก ?ภาพด้านล่างนี้คือเด็กบางส่วนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อคอตึงแข็งเรื้อรัง
มีคำกล่าวว่า ?ครอบครัวที่สวดภาวนาร่วมกัน จะได้อยู่ด้วยกัน? สำหรับคุณหมอมาร์คแล้วเขาเชื่อว่า ?ทำงานอาสาสมัครร่วมกัน จะได้อยู่ด้วยกัน? งานอาสาสมัครนี้นับเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันของครอบครัวเราที่เยี่ยมที่สุด

คุณหมอมาร์ค, คุณหนิง ภรรยา และ ณิกกิ ลูกสาว ขณะทำงานร่วมกัน

คุณหมอ มาร์คและ ณิกกิ ขณะที่ทำการรักษาเท้าให้เด็กชาย.
บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อนนี้มีเด็กๆอาศัยอยู่ราวๆ 80 คน เกือบทั้งหมดเป็นเด็กที่มีความพิการทางสายตาร่วมด้วยความพิการทางด้านอื่นๆ พวกเขามาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจนซึ่งไม่สามารถจะ สรรหาทรัพยากรได้เพียงพอที่จะดูแลพวกเขาได้อย่างเหมาะสม จากภาพด้านบนเด็กๆร่วมรับประทานอาหารเที่ยงด้วยกัน จะเห็นได้ว่าทางมูลนิธิยังต้องการเงินบริจาคเพื่อจัดหาสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในการดูแลเด็กๆเหล่านี้
คุณหมอมาร์คเองก็ได้ช่วยรวบรวมเงินบริจาคด้วยการตั้งกล่องรับบริจาคจากคนไข้ในคลินิกของเขา และบริจาคเงินเป็นบางส่วนจากเขาด้วย

ณิกกิกส่งมอบกล่องรับบริจาคที่ตั้งไว้ที่คลินิกให้แก่ทางมูลนิธิ