การจัดกระดูกถูกนำมาใช้ในนักกีฬาชั้นยอดจากทั่วทุกมุมโลกไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย นักกีฬาจะนำการจัดกระดูกมาใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่การรักษาอาการบาดเจ็บไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงสุดของร่างกาย ด้วยความสามารถอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเราในการจัดการกับความผิดปกติของระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อของเรา ทำให้เรานั้นแตกต่างไปจากภาพรวมของยาแผนโบราณในการรักษาแบบแผนโบราณของการบาดเจ็บจากกีฬา นักกีฬาบางคนมองหาการดูแลโดยการจัดกระดูกเป็นสิ่งแรกเมื่อเขาเกิดการบาดเจ็บ ในขณะที่บางคนมาใช้บริการเราก็ต่อเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นล้มเหลว บ่อยครั้งที่การรักษากับเราจะจำเป็นก็ต่อเมื่อการรักษาด้วยการแพทย์ทั่วไปทำให้อาการดีขึ้นแต่ไม่หายขาด นักกีฬาหลายท่านเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ทั่วไปจนถึงจุดอิ่มตัวในการฟื้นตัวจึงหันมาหาการรักษาด้วยการจัดกระดูกซึ่งช่วยให้พวกเขาก้าวพ้นส่วนที่ยุ่งยากของการฟื้นตัวไปจนกระทั่งหายขาดได้
นักกีฬาหลายคนยังได้ใช้การจัดกระดูกเป็นเครื่องมือในการป้องกันอาการบาดเจ็บในอนาคตอีกด้วย ไคโรแพรคติกแพทย์นั้นมีความสามารถในการตรวจจับและแก้ไขความผิดปกติทางชีวกลศาสตร์ในระบบกระดูกและกล้ามเนื้อก่อนที่สิ่งเหล่านั้นจะกลายเป็นต้นเหตุของปัญหา นอกเหนือไปจากการช่วยในการป้องกันการบาดเจ็บแล้ว การบำรุงรักษาการจัดระเบียบและความยืดหยุ่นของกระดูกและกล้ามเนื้อด้วยการดูแลโดยการจัดกระดูกช่วยให้นักกีฬาสามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอีกด้วย นี่คือตัวอย่างเล็กน้อยของเหล่านักกีฬาที่ใช้บริการการดูแลด้วยการจัดกระดูก
ดนัย อุดมโชค นักกีฬาเทนนิสมืออาชีพมือหนึ่งของประเทศไทย
ชลธร วรธำรง จากทีมชาตินักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิก ณ กรุง เอเธนส์ ปี 2004
สุจิตรา เอกมงคลไพศาล นักกีฬาแบดมินตัน จากทีมชาตินักกีฬาแบดมินตัน โอลิมปิกที่ ซิดนีย์ ปี 2000
นิมิตตา ทวีทรัพย์สุนทร นักกีฬาทีมชาติโอลิมปิก 2 สมัย ทั้ง กรุงเอเธนส์ ปี 2004 และ ปักกิ่ง ปี 2008
บุญชู เรืองกิจ นักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ
สุริยา สุขสุภักดิ์ นักกีฬาว่ายน้ำ ซีเกมส์, กีฬาในน้ำชิงแชมป์โลก
พรอนงค์ เพชรล้ำ นักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ
ธิรนันท์ อยู่ปาน นักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ
ประหยัด มากแสง นักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ แชมป์ 3 สมัยของรายการไทยแลนด์โอเพ่น และนักกอล์ฟชาวไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในรายการบริติชโอเพ่น